วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

กล้วยบวชชี

โครงงานอาชีพ
เรื่องกล้วยบวชชี 


อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์อนุสรณ์  ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557

โครงงานอาชีพ
เรื่องกล้วยบวชชี

จัดทำโดย
1 นางสาวกัญญาณัฐ วงศ์โสภา เลขที่12
2นางสาวเขมิกา    พิงไทสง เลขที่14
3 นางสาวทิพย์มุณี  บาศรี เลขที่15
4 นางสาวธัญสุดา  หูตาไชย เลขที่16
5นางสาวรัญระนา  คำผุย เลขที่20
6 นางสาวอรทัย  ทองศรี      เลขที่23

อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์อนุสรณ์  ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

กล้วยบวชชี เป็นขนมชนิดหนึ่งที่คนไทยทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดีซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือนจะธรรมดา แต่มีความเป็นมาเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำหว้ามะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้
การทำกล้วยบวชชีในตำรับนี้ผู้เขียนจะใช้กะทิธัญพืชเป็นส่วนประกอบแทนกะทิทั่วไป เพื่อให้เป็นตำรับสุขภาพที่ทุกคนกินได้ กลุ่มของพวกเราจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อศึกษาสูตร และวิธีทำกล้วยบวชชี เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาและเป็นแนวทางต่อไป

กิตติกรรมประกาศ

เนื่องจากทางกลุ่มของข้าพเจ้าเล็งเห็นว่ากล้วยบวชชีเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย มีราคาถูก และยังสามารถแปรรูปอาหารได้หลายชนิดและทางกลุ่มของเราคิดว่าการทำกล้วยบวชชีเป็นอาหารที่ง่ายและอร่อยดีทางกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดทำอาหาร”กล้วยบวชชี”เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของกล้วยและหารายได้ระหว่างเรียนด้วยโดยใส่ถ้วยและจัดจำหน่าย และการจัดทำโครงงานในครั้งนี้ได้สำเร็จรุร่วงไปด้วยดีเนื่องจากได้รับคำปรึกษาจากคุณครูประจำวิชากลุ่มของพวกเราจึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้


สารบัญ
       เรื่อง                                                                                                                                                            หน้า
บทที่ 1 บทนำ
-ที่มาและความสำคัญ                                                                                                                                  1
-จุดมุ่งหมายของโครงงาน                                                                                                                           1
-สมมุติฐาน                                                                                                                                                  1
-ขอบเขตการศึกษา                                                                                                                                      1
  บทที่ 2 เอกกสารที่เกี่ยวข้อง
-เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                      2
-ประวัติกล้วยบวชชี                                                                                                                                     3
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีดำเนินงาน
-วัสดุอุปกรณ์                                                                                                                                               5
-ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน                                                                                                                         6
บทที่ 4 ผลการเรียนรู้
-ผลการเรียนรู้                                                                                                                                             7
บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผลงาน
-สรุปผลและอภิปรายผลงาน                                                                                                                      8
-ประโยชน์คาดว่าจะได้รับ                                                                                                                         8
-ข้อเสนอแนะ                                                                                                                                             8
อ้างอิง                                                                                                                                                                       9

บทที่1
บทนำ

ความเป็นมา
กล้วยบวดชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้
         การทำกล้วยบวชชีในตำรับนี้ผู้เขียนจะใช้กะทิธัญพืชเป็นส่วนประกอบแทนกะทิทั่วไป เพื่อให้เป็นตำรับสุขภาพที่ทุกคนกินได้

จุดมุ่งหมายของโครงงาน
1. เพื่ออนุรักษ์ขนมไทย
2. เพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่ม
3. เพื่อสร้างรายได้ในระหว่างเรียน
4. เพื่อฝึก และศึกษาการทำกล้วยบวชชี
5. เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำกล้วยบวชชี

สมมติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์ จากการทำโครงงานเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ ในอนาคต และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกหลายอย่าง

ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์ และบุคคลที่รู้เกี่ยวกับการทำขนมกล้วยบวดชี


บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

กล้วยบวดชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้
การทำกล้วยบวชชีในตำรับนี้ผู้เขียนจะใช้กะทิธัญพืชเป็นส่วนประกอบแทนกะทิทั่วไป เพื่อให้เป็นตำรับสุขภาพที่ทุกคนกินได้

ส่วนผสม
กล้วยน้ำว้าสุก ๑๒ ผล ขนาดกลาง, กะทิธัญพืช ๖ ถ้วยตวง, น้ำตาลทราย ๒๐๐ กรัม, เกลือ ๕ กรัม
วิธีทำ
๑. ปอกเปลือกกล้วยให้สะอาด หั่นให้เป็น ๔ ชิ้นต่อ ๑ ผล
๒. นำกล้วยไปต้มในน้ำเดือดให้พอสุกเพื่อเอายางออก ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
๓. นำกะทิตั้งไฟปานกลางให้เดือดใส่กล้วยลงไป หรี่ไฟอ่อน เพื่อให้ความหวานของกล้วยออกมา
๔. ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย ตามด้วยเกลือ ชิมรสให้ออกมัน หวาน เค็มเล็กน้อย รสกลมกล่อม

หมายเหตุ การทำกล้วยบวดชีให้อร่อย กล้วยจะต้องเป็นกล้วยสวน ไม่ฝาด ไม่มีเมล็ด กะทิไม่ควรเคี่ยวจนแตกมัน เมื่อเวลากินจะติดลิ้น ปาก ไม่อร่อยชวนกิน
ปริมาณ อาหารสำเร็จได้น้ำหนักประมาณ ๑,๘๐๐ กรัม
เสิร์ฟได้ประมาณ ๑๒ คน คนละ ๑๕๐ กรัม
กล้วยบวชชีทำจากกะทิธัญพืชถ้วยนี้ให้พลังงาน ๒๗๕ กิโลแคลอรี หรือคิดเป็น ๑ ใน ๖ ของผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ ๑,๖๐๐ กิโลแคลอรี และให้ไขมัน ๑๖.๒  กรัม หรือประมาณร้อยละ ๒๗ ของปริมาณไขมันที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (แนะนำโดยเฉลี่ย ๖๐ กรัม)  ซึ่งไขมันนี้มาจากน้ำกะทินั่นเอง สำหรับกล้วยบวชชีที่ใช้กะทิธรรมดาและมีความเข้มข้นของกะทิปานกลางให้พลังงานมากกว่ากล้วยบวชชีที่ทำจากกะทิธัญพืชประมาณ ๕๐ กิโลแคลอรี โดยให้ไขมันและคาร์ไบ-ไฮเดรตมากกว่า เนื่องจากพลังงานและไขมันจากกล้วยบวชชีส่วนใหญ่มาจากกะทิและน้ำตาล
ดังนั้น ขนมหวานถ้วยนี้จะให้พลังงานและไขมันมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของการคั้น กะทิและปริมาณ แต่ถ้าใช้กะทิสำเร็จรูป ควรผสมน้ำลงไปเพื่อเจือจางความเข้มข้นของกะทิ ส่วนน้ำตาลให้ใส่พอประมาณอย่าให้กล้วยบวชชีมีรสชาติหวานจัดถ้าเป็นกล้วยบวชชีที่ซื้อมาจากร้านค้า เราอาจลดพลังงานและไขมันได้โดยการกินในส่วนที่เป็นน้ำกะทิแต่พอประมาณเท่านั้น หรือถ้ารู้สึกว่ากินในส่วนน้ำกะทิมากไปสักหน่อย เมื่อกินอาหารในมื้อต่อไปเราควรลดหรือหลีกเลี่ยงการกินอาหารประเภทผัด  ทอด อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ และเนื้อสัตว์ที่มีมันมาก เช่น เนื้อหมูติดมัน เนื้อไก่และเป็ดที่มีหนังติดอยู่ เป็นต้น
สำหรับการกินขนมหวานที่ทำจากผลไม้ ธัญพืชหรือพืชผักบางชนิด มีข้อดีกว่าขนมหวานทั่วๆ ไปที่ทำมาจากแป้ง คือ เราจะได้ใยอาหารเพิ่มขึ้นมา
สำหรับกล้วยบวชชี ๑ ถ้วย ให้ใยอาหารประมาณ ร้อยละ ๕ ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (แนะนำ ๒๕ กรัม)
ส่วนปริมาณวิตามินซีถ้ากินกล้วยน้ำว้าสุก ๑ ผล จะได้รับวิตามินซีประมาณ ๖.๒ มิลลิกรัมหรือร้อยละ ๑๐ ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (แนะนำ ๖๐ มิลลิกรัม แต่เมื่อนำกล้วยน้ำว้ามาทำกล้วยบวชชี ปริมาณวิตามินซีส่วนหนึ่งจะถูกทำลายไปด้วยความร้อน ดังนั้น ปริมาณวิตามินซีที่เราได้รับจากกล้วยบวชชี ๑ ถ้วย จะน้อยกว่าที่แสดงในตารางคุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางด้านอาหาร
       กล้วยมีสารพัดวิตามิน ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก บี 1 บี 2 ไนอาซิน  เบต้าแคโรทีน กากใยอาหาร รวมถึงโรงต่างๆดังนี้
         1.โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือดและจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลังหรือภาวะโลหิตจาง
         2. โรคความดันโลหิตสูง มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกา ยินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยสามารถ โฆษณาได้ว่า กล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก
         3. กำลังสมอง ให้เห็นว่าปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้ การตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น
          4. โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติและยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย
          5. โรคความซึมเศร้า จากการสำรวจเร็ว ๆ นี้ ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคนจะมี ความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า try potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ ถูกเปลี่ยนเป็น serotonin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง
           6. อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือ การดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง กล้วยจะทำให้ กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่ นมก็ช่วย ปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา
            7. อาการเสียดท้อง กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้าปัญหาเกี่ยวกับอาการเสียด ท้อง ลองกินกล้วยสักผล คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้
            8. ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร จะรักษาระดับน้ำตาลใน เส้นเลือดให้คงที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า
             9. ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่าง มหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้
           10. ระบบประสาท ในกล้วยมีวิตามินบี สูงมากช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้
           11. โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุม เพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะ เนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรค ลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ทำให้ลดการระคายเคือง และยังไปเคลือบผนังลำไส้และ กระเพาะอาหารด้วย
            12. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในวัฒนธรรมของหลายแห่งเห็นว่ากล้วย คือผลไม้ที่สามารถทำให้ อุณหภูมิเย็นลงได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอุณหภูมิของอารมณ์ของคนที่เป็นแม่ที่ชอบคาดหวังตัวอย่างในประเทศไทยจะให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์รับประทานกล้วยทุกวันเพื่อให้แน่ใจว่า ทกรกที่เกิดมา จะมีอุณหภูมิเย็น



  
บทที่ 3
การดำเนินงาน

เครื่องปรุง  ส่วนผสม

กล้วยน้ำว้า 8 ลูก (เลือกห่ามๆ ไม่สุกมาก)
หัวกะทิ 450 มิลลิลิตร
หางกะทิ 500 มิลลิลิตร
ใบเตย 2 ใบ
น้ำตาลปี๊บ 40 กรัม
น้ำตาลทรายขาว 40 กรัม
เกลือ
กล้วยน้ำว้า

กล้วยบวดชี
วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. นำกล้วยไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 3-5 นาที หรือนึ่งจนกระทั่งผิวกล้วยเริ่มแตกออก จึงปิดไฟและนำออกมาปอกเปลือกและหั่นครึ่งลูก จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำหางกะทิไปต้มในหม้อและใส่ใบเตยลงไปด้วย เมื่อเดือดแล้วจึงใส่กล้วยที่หั่นไว้แล้วลงไป ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ, น้ำตาลทรายขาวและเกลือนิดหน่อย
3. เมื่อกะทิเริ่มเดือดอีกครั้งจึงใส่หัวกะทิลงไป และปล่อยทิ้งไว้ให้เดือดอีกประมาณ 3 นาที ถ้าต้องการให้น้ำข้นเหนียวก็ให้ใส่แป้งมันลงไปประมาณ 1 ช้อนชาและคนให้ละลายทั่ว
4. อย่าต้มนานจนเกินไปเพราะจะทำให้กล้วยเละ กล้วยควรจะยังแข็งนิดหน่อย จากนั้นตักใส่จานและเสริฟทันที
ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นคนไทยนั้นไซร้จะไม่รู้จักเมนูขนมหวานแสนอร่อยอย่างกล้วยบวชชี ที่เป็นอีกหนึ่งขนมหวานพื้นบ้านของคนไทยยอดนิยม เชื่อเถอะว่าร้านขนมไทยเกือบจะทุกร้านจะต้องมีเมนูนี้วางขายอยู่ด้วย เพราะสามารถทำได้ง่าย และอร่อยมากนั่นเองค่ะ วันนี้กระปุกคุกกิ้งจึงไม่พลาดที่จะนำสูตรกล้วยบวชชีหวานหอมมาฝาก

 สิ่งที่ต้องเตรียม
          กล้วยน้ำว้าห่าม 8 ลูก
          หางกะทิ 500 มิลลิลิตร
          ใบเตย 2 ใบ
          น้ำตาลปี๊บ 4 ช้อนโต๊ะ
          น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ
          เกลือปริมาณเล็กน้อย
          หัวกะทิ 400 มิลลิลิตร
 วิธีทำ
          1. ต้มกล้วยน้ำในน้ำเดือด นานประมาณ 3-5 นาที จนผิวกล้วยเริ่มแตกออก ตักขึ้น ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ
          2. ต้มหางกะทิกับใบเตยจนเดือด ใส่กล้วยตามด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย และเกลือ ต้มจนเดือดอีกครั้ง ใส่หัวกะทิลงไป ต้มจนเดือดประมาณ 3 นาที ตักใส่ถ้วย พร้อมรับประทาน


บทที่ 4
ผลการเรียนรู้

จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกการทำขนมกล้วยบวดชี ผลที่ได้คือ พวกเราได้เรียนรู้วิธีการทำขนม ที่ถูกต้องตามขั้นตอน และได้ขนมกล้วยบวดชีที่อร่อยด้วยวิธีดังต่อไปนี้

วัสดุอุปกรณ์
วัสดุ
กล้วยน้ำว้าสุก 12 ผล
กะทิ 6 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 200 กรัม
เกลือ 5 กรัม

อุปกรณ์
1. หม้อ
2. เคียง
3. มีด
4. เตาแก๊ส
5. ปูน
6. กล้วย
7. น้ำตาลทราย
8. เกลือป่น

วิธีทำ
1. ปอกเปลือกกล้วยให้สะอาด หั่นให้เป็น ๔ ชิ้นต่อ ๑ ผล
2. นำกล้วยไปต้มในน้ำเดือดให้พอสุกเพื่อเอายางออก ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
3. นำกะทิตั้งไฟปานกลางให้เดือดใส่กล้วยลงไป หรี่ไฟอ่อน เพื่อให้ความหวานของกล้วยออกมา
4. ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย ตามด้วยเกลือ ชิมรสให้ออกมัน หวาน เค็มเล็กน้อย รสกลมกล่อม

บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผล

สรุป
การทำโครงงานกล้วยบวดชีครั้งนี้ ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นอาหารในเวลาว่าง เพื่อให้สำเร็จตามความประสงค์ที่ต้องการและนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำและลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

อภิปราย
1. สามารถทำโครงงานมาเป็นแบบอย่าง ในการสืบค้นคว้าข้อมูล ในการทำครั้งต่อไป
2. ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
3. นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
4. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
กล้วยเป็นผลไม้ที่ช่วยบรรเทาอาการ อาหารไม่ย่อยในกระเพาะได้เป็นอย่างดี การรับประทานกล้วยเป็นประจำ จะทำให้กระเพาะแข็งแรง ปัญหาจากกรดในกระเพาะจะลดลง สำหรับคนที่มีปัญหาแผลในกระเพาะ จะมีอาการดีขึ้น


อ้างอิง
http://www.yangtalad.ac.th/worknid/worknid54/worknid50154/nan/index.html